Business model CDIP

Business model CDIP

จาก 2 บทความแรก ทฤษฎีที่ซีดีไอพีใช้คือ technology push vs market pull และ university industry collaboration

          ทฤษฎีที่ 3  เริ่มเป็น business model ที่ซีดีไอพีพัฒนาขึ้นมาเอง เนื่องจากการทำงานด้านงานวิจัยพัฒนาและการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาค อุตสาหกรรมผู้ผลิตแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ เมื่อผลิตสินค้าใหม่ๆ ตอบสนองความต้องการของตลาด การจัดจำหน่ายหรือช่องทางทางการตลาดคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการอยู่รอดของธุรกิจ ดังนั้น ทางบริษัทซีดีไอพี จึงมุ่งเน้น ความเชื่อมโยง ทั้ง 3 มิติ คือ1 มิติของงานวิจัยพัฒนาจาก มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยต่างๆ 2  มิติของ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ที่สามารถปรับปรุงกระบวนการและผลิตสินค้าต้นแบบ รวมถึงผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ที่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้ และมิติที่ 3  คือความต้องการของตลาด ความต้องการของผู้บริโภค และช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า 

          จากซีดีไอพีมีความเชี่ยวชาญ ทางด้านงานวิจัยพัฒนาด้านการผลิต และด้านการตลาด ของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในกลุ่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและยาสมุนไพรแผนโบราณทำให้บริษัทซีดีไอพี สามารถเชื่อมโยง ข้อ 1 ความต้องการของตลาด เชื่อมโยงกับศักยภาพในการวิจัยและพัฒนา ของมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ โดยสามารถใช้ทฤษฎีของ technology push vs market pull มาช่วย

          ข้อ 2  การเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิต และมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัย โดยใช้ทฤษฎีของ  university industry collaboration เพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อมโยงระยะยาวโดยมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรของโรงงานอุตสาหกรรมผู้ผลิต และโรงงานผู้ผลิต ก็สามารถขอความช่วยเหลือ จากอาจารย์ จากนักวิชาการ การเชื่อมโยงแบบที่ 3 คือการเชื่อมโยงระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมผู้ผลิต กับผู้จัดจำหน่ายหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด  เพราะจะเห็นได้ว่านักการตลาดที่เก่งหรือผู้จัดจำหน่ายที่เก่ง หลายครั้งก็ไม่สามารถจะผลิต และหาผู้ผลิตที่ได้คุณภาพ และผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาด ส่วนผู้ผลิตด้านอุตสาหกรรมเองก็มักจะขาดศักยภาพทางด้านการตลาดทางด้านช่องทางการจัดจำหน่าย การเชื่อมโยงในมิตินี้เอง นอกจากจะช่วยให้สินค้าที่ผลิตสามารถจำหน่ายได้ ไม่เพียงเท่านี้เรามุ่งเน้นที่ การผลิตสินค้า นวัตกรรม การนำเสนอสิ่งใหม่ๆให้กับตลาด และการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ นักวิจัย ผู้ผลิตอุตสาหกรรมและนักการตลาด สามารถใช้ประโยชน์ จากงานวิจัย ได้อย่างเต็มที่ ตั้งชื่อ ของบริษัทซีดีไอพี  conceptual development  intellectual property  คือ เมื่อเรามีไอเดีย เมื่อตลาดมีไอเดีย เราช่วยกันสร้าง concept  ให้ชัดเจน และพัฒนา concept นี้ ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้ได้ เมื่อเราได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และเราได้กระบวนการผลิตแล้ว เราต้องนำความรู้ ซึ่งเปรียบเสมือนทรัพย์สินทางปัญญา เข้ามาบริหารจัดการ ได้อย่างดีที่สุด