Freeze Dry

 

 

 

 

 

 

 

กระบวนการทำ Freeze Dry

แบ่งออกเป็น 3ขั้นตอน ได้แก่

Pre-freezing เป็นขั้นตอนการลดอุณหภูมิของตัวอย่างเพื่อให้เกิดผลึกของน้ำก่อนเข้าสู่ขั้นตอน Primary Drying

Primary Drying เป็นขั้นตอนการลดความดันเพื่อให้น้ำที่อยู่ในสถานะของแข็ง"ระเหิด"กลายเป็นไอ

Secondary Drying เป็นขั้นตอนการกำจัดความชื้นที่อาจจะหลงเหลืออยู่จากขั้นตอนPrimary Drying

ส่วนประกอบมี 3ส่วนหลักๆ ได้แก่

Chamber สำหรับบรรจุตัวอย่าง

Condenser ทำหน้าที่ลดอุณหภูมิในระบบให้ เพื่อให้น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง และนอกจากนี้ยังเป็นตัวดักจับความชื้น (น้ำ) ที่ออกมาจาก Chamber ก่อนความชื้นจะเข้าสู่ Vacuum Pump

Vacuum Pump ทำหน้าที่ลดความดันในระบบให้ต่ำ (ยิ่งต่ำยิ่งดี) เพื่อให้เกิดการระเหิดของน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นตัวกำหนดทิศทางการดูดเอาไอน้ำที่ระเหิดออกมาจากตัวอย่างให้เข้ามายัง Condenser อีกด้วย

การนำไปใช้ของFreeze Dry

          การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง เป็นการทำแห้งขณะที่อาหารมีอุณหภูมิต่ำจึงลดการสูญเสียของอาหารเนื่องจากความร้อน ลดการทำลายเนื้อเยื่อและโครงสร้างอาหาร ทำให้ได้อาหารแห้งที่ได้มีคุณภาพสูงมีการคืนตัว (rehydration) ที่ดี รักษาคุณภาพอาหารเช่น สี กลิ่น รสชาติ และลักษณะเนื้อสัมผัสของอาหารได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการทำแห้ง แบบอื่น เช่น การทำแห้งแบบพ่นละออง (spray drier) การทำแห้งด้วยลมร้อน เช่น ตู้อบลมร้อน (tray drier, carbinet drier) แต่มีค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการทำแห้งด้วยเครื่องทำแห้งที่ใช้ลมร้อนทั่วไป

 

แหล่งอ้างอิง

พิมพ์เพ็ญ  พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา  รัตนาปนนท์.  2550.  การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง.  (ออนไลน์). 

เข้าถึงได้จาก: http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3133/freeze-drying.  (27  มิถุนายน 2559).

ฮัมดัน มะเซ็ง.  2556.  หลักการทำงาน Freeze Dry.  (ออนไลน์).  เข้าถึงได้จาก :http://portal.psu.ac.th/blog/

scifile-service/27766.  (27  มิถุนายน 2559).

 

Miss. Suwanan   Jai-aree

คุณอยู่ที่: หน้าแรก Freeze Dry