โครงการนวัตกรรม
- รายละเอียด
- หมวด: Innovation Projects
- เผยแพร่เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2558
- ฮิต: 4237
เทคโนโลยีการเคลือบเม็ดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
สูตรผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดเม็ดมีสารสำคัญ (Active) หลายชนิด อยู่ในตำรับเดียวกัน เช่น สารสกัดจากธรรมชาติ, แร่ธาตุและวิตามินรวม เป็นต้น จึงทำให้เม็ดแกนมีลักษณะที่ปรากฏเป็นสีของสารสำคัญหลายชนิด ทำให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่น่ารับประทาน เม็ดแกนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ทนต่อความชื้นและแสง เมื่อเก็บไว้นานๆ จะทำให้สารสำคัญสลาย เม็ดบวมและแตก จึงต้องทำให้มีการเคลือบเม็ดผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาสารสำคัญและผลิตภัณฑ์มีอายุนาน
ส่วนประกอบของฟิล์มเคลือบเม็ดแกน
1.สารก่อฟิล์ม
2.สารเพิ่มความยืดหยุ่น
3.สารทึบแสง
4.สีและกลิ่น
ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการรับประทานมากยิ่งขึ้นและมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ทางบริษัทจึงได้เพิ่มส่วนของกลิ่นเข้าไปในฟิล์มด้วยและมีประโยชน์ต่อทางการตลาด ซึ่งในส่วนของกลิ่นในรูปเม็ดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นยังไม่มีในท้องตลาดหรือมีน้อย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อลดปัญหาการบวม แตกของเม็ดแกน และจุดบนแผ่นฟิล์มของเม็ดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเมื่อเก็บไว้นาน
2.เพื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดเม็ดมีความคงตัวและอยู่ได้นาน
3.เพื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดเม็ดมีกลิ่นหอมน่ารับประทานและรับประทานได้ง่าย
ข้อแตกต่างของเทคโนโลยีปัจจุบันและเทคโนโลยีของโครงการ
รายการ | เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน | เทคโนโลยีที่นำเสนอในโครงการ |
1.ปัญหาการบวม แตก ของเม็ดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและการขึ้นจุดบนแผ่นฟิล์มที่เคลือบ | เมื่อเก็บไว้นาน มีการบวมแตกของเม็ด และมีการขึ้นจุดบนแผ่นฟิล์ม | เมื่อเก็บไว้นาน ไม่มีการบวมแตกของเม็ด และไม่มีการขึ้นจุดของเม็ดผลิตภัณฑ์ |
2.ความคงตัว | ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบเม็ดที่มีสารสำคัญหลายชนิดอยู่ในเม็ดเดียวกัน จะทำให้มีความคงตัวต่ำ คือผลิตภัณฑ์ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน |
- อายุในการเก็บนานขึ้น - ป้องกันความชื้น แสงและการทำปฏิกิริยากันระหว่างสีและสารสำคัญในเม็ดได้ - เม็ดสามารถละลายน้ำได้ดี |
3. ในเรื่องของผู้บริโภค | ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่ในท้องตลาดส่วนมาก จะเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดเม็ดมีสีแต่ไม่มีกลิ่น |
- มีการเคลือบฟิล์มที่มีสีและมีกลิ่นหอม - ง่ายต่อการรับประทานของผู้บริโภค - เป็นประโยชน์ทางการตลาด |
รางวัลที่ได้รับ
ได้รับรางวัลจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร งาน “STI Thailand Award 2012-Green Innovation” ภาคกลางและตะวันตก ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน) จัดขึ้นเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555
รายการทรัพย์สินทางปัญญา :
Year | Innovation Project | IP | Status |
---|---|---|---|
2014 | Rice Germ drink extract | Petty Patent | App.No.1403000567 |
Rice Wax | Petty Patent | In process | |
2013 | Liquid Capsule Banding Formula | Petty Patent | In process |
Reducing molecule of Beta Glucan | Petty Patent | In process | |
2012 | GenTech | Patent | In process |
Liquid Capsule Banding Machine | Petty Patent | App.No.1403000568 | |
C2G and C3G | Petty Patent | Publication | |
2011 | NanoVa phase I | Petty Patent | No.8901 |
FimTech phase I | Petty Patent | No. 7912 | |
2010 | - | - | - |
2009 | - | - | - |