ข่าวสาร

สู่เป้าหมายบริษัทมหาชนที่เน้นความรู้ทรัพย์สินทางปัญญา
          สิ่งสำคัญที่ทำให้ CDIP หรือ Conceptual Development Intellectual Properties ยุคหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพราะการให้ความสำคัญกับการรักษาองค์ความรู้มรดกทางปัญญาของสมุนไพรไทยให้ก้าวไกล กระทั่งประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรอาหารเสริมและเครื่องสำอาง พัฒนาสูตร ให้คำปรึกษา จนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาประเทศ

          อะไรที่ทำให้ซีดีไอพีก้าวมาอยู่ระดับแนวหน้า ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ Chief Innovation Officer & Co-Founder บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัดเล่าว่า ซีดีไอพี ก่อตั้งในปี 2552 เป็นเครือข่ายของ Cox Laboratories และ JSP Phamacutical จากแนวคิดที่เห็นว่าตลาดสมุนไพรหรือยาแผนโบราณในประเทศไทยมีแนวโน้มศักยภาพที่เติบโตได้อีกมาก คนไทยนิยมหันมารับประทานอาหารเสริมและใช้ยาสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน
         อีกทั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และรัฐบาลมีงบประมาณสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างสมุนไพรตามบัญชียาหลักที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่เพียงแต่ผู้ประกอบการต่างประเทศก็สนใจเข้าสู่ตลาดยาสมุนไพรในอาเซียนโดยให้ไทยเป็นจุดศูนย์กลาง
        "จากประสบการของ Cox Laboratories และ JSP ผลิตอาหารเสริม ยาแผนโบราณ และกลุ่มเครื่องสำอาง ทำให้เรามีความพร้อมด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่มีศักยภาพสูงทัดเทียมนวัตกรรมการผลิตยาแผนปัจจุบัน สามารถผลิตยาแผนโบราณทันสมัยเข้าถึงรูปแบบความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ยาแผนโบราณมี Sense of emotional"

กลไกสู่ความสำเร็จ

 แม้จะยังไม่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเทียบเท่ารายใหญ่อย่างจีน อินเดีย แต่ด้วยระบบบริหารจัดการที่ทำอย่างต่อเนื่องเชื่อว่าธุรกิจจะเติบโตได้ดีจากกลไก 3 ประการคือ
1.การพัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิตให้เป็นที่ยอมรับของสากล
2.การวิจัยและพัฒนาให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาด
3.เปิดใจร่วมมือกับ อย. ผู้มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคและคุมมาตรฐาน

เป้าหมายธุรกิจ

 ดร.สิทธิชัย กล่าวว่ากำลังเตรียมนำบริษัท Conceptual Development Intellectual Properties จำกัด (CDIP) เข้าตลาดหลักทรัพย์ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยตั้งเป้า 2 ดิจิตทุกปี
ยิ่งมีนวัตกรรมการเติบโตยิ่งสูง เป็นบริษัทวิจัยและพัฒนารายเดียวของประเทศที่มียาสมันไพร อาหารเสริม เครื่องสำอาง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
พร้อมที่จะเตรียมแข่งขันตลาดโลกและเป็นบริษัทมหาชนที่มุ่งเน้นความรู้ทรัพยฺสินทางปัญญาในการสร้างมูลค่าไม่เน้นปริมาณการผลิต แต่ใช้องค์ความรู้ในการสร้างรายได้และสร้างผลตอบแทน มุ่งเน้นสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้

ตลาดอาเซียนแนวโนมดี

         ส่วนตลาดอาเซียนได้มีการร่วมลงทุนกับบริษัท โคคันโดะ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจบริษัทยามานานกว่า 130 ปี และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น ทำการผลิตสมันไพรไทยที่อ้างอิงบัญชียาหลักของชาติและกำลังอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียน อย. จำนวน 12 ทะเบียนยากลุ่มพื้นฐาน อาทิ ยาสมุนไพรบำรุงร่างกาย แก้ท้องเสีย แก้หวัด แก้เจ็บคอ ฯลฯ โดยวิจัยและพัฒนาร่วมกันใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่นผสานกับองค์ความรู้แพทย์แผนไทย ลักษณะทำเป็นแบรนด์ญี่ปุ่นจำหน่ายในไทยและกระจายสู่อาเซียน
         นอกจากนี้ ทางสิงค์โปร์สนใจที่จะนำสมุนไพรไทยไปจำหน่ายยังประเทศอื่นๆโดยรอพิจารณากติกาว่าตัว Asean Harmonized (การปรับประสานกฎระเบียบเครื่องสำอางของประเทศอาเซียน 10 ประเทศ) มีการสรุป Traditional Medicines and Health Supplements(TMHS)อย่างไร ซึ่งหากมีความชัดเจนจะยิ่งเป็นโอกาสของยาสมุนไพรไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การพัฒนายาสมันไพรไทยแข่งขันในระดับสากลได้จึงจำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐโดยเฉพาะ
         1.รัฐต้องมีข้อกำหนด(Regulation) ที่ชัดเจนมีระยะเวลาการขึ้นทะเบียนที่รวดเร็วเพื่อให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้เร็ว ขณะนี้ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ ต่างสนใจพัฒนายาสมุนไพรไทยให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
         2.สร้างแหล่งวัถุดิบที่ได้มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice)ซึ่งประเทศไทยมีโรงงานมาตรฐานเพียง 20 กว่าแห่ง และในขณะเดียวกันแหล่งวัถุดิบกลับไม่ได้มาตรฐาน GMP หากจะนำไปสู่ระบบมาตรฐาน GMP PIC/s(Phamaceutical Inspection Co-operation Scheme) คิดว่าร้อยละ 80 ยังไม่สามารถทำได้ขณะนี้ เพราะส่วนมากเป็นผู้ประกอบการรายเล็กต้องใช้งบประมาณสูงมาก หากผลิตตามมาตรฐานใหม่จะส่งผลให้ต้นทุนยาสูงไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้
         3.ฝากให้รัฐบาลสนับสนุนเรื่องเจ้าของทะเบียนยา ให้เจ้าของทะเบียนยาสามารถย้ายไปผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานขนาดใหญ่ เป็นการบริหารระบบ Value Chan
 

มั่นใจแนวโน้มดีเพราะสมุนไพรไทยมีคุณภาพสูง

          เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ผลิตยาด้วยจรรยาบรรณและอุดมการณ์ที่ดี ดำเนินธุรกิจให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งองค์ความรู้ เทคโนโลยี และการผลักดันกฎหมายผู้ผลิตยาสมุนไพรต้องผลิตยาที่ได้มาตรฐาน ปราศจากสารปนเปื้อนและสเตียรอยด์ ให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพยาไทย ให้คนไทยรักยาไทย เพราะสมุนไพรไทยมีความมั่นคงทางยาปลูกในประเทศไม่ต้องนำเข้า รักษาโรคได้จริง สามารถทดแทนยาแผนปัจจุบันได้           ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นแผ่นดินที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ พืชพรรณธัญญาหารล้วนเป็นตัวยาที่มีการคิดค้นมาแล้วตั้งแต่บรรพบุรุษ เหลือเพียงชนรุ่นหลังจะนำมาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ยาสมุนไพรไทยก็จะสามารถทัดเทียมนานาประเทศได้อย่างแน่นอน

กลุ่มธุรกิจ

1.ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงงานเภสัชอุตสาหกรรมค็อกซ์ ผลิตยาแผนปัจจุบันจำหน่ายในและต่างประเทศ
2.บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด รับจ้างผลิตยาสมุนไพร 30% อาหารเสริม และเครื่องสำอาง 70%
3.บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด ให้บริการแบบครบวงจรสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพด้านการวิจัยและพัฒนาสูตร โดยสนับสนุนการวิจัยแลพพัฒนาสำหรับยาแผนปัจจุบัน เสริมอาหาร เครื่องสำอาง และยาสมุนไพร บริการให้คำปรึกษาวิเคราะห์ประกันคุณภาพการขึ้นทะเบียนยา

ลูกค้า

Fascino/Boots/Watsons/7-11/Beauty Buffet/ทีวีไดเร็ค/ผู้ประกอบการรายเล็กที่จำหน่ายอาหารเสริม เครื่องสำอาง ฯลฯ
 
ที่มา: Newsletter Med. & Herb ฉบับวันที่ 5 เมษายน-มิถุนายน 2558
 
 
คุณอยู่ที่: หน้าแรก สู่เป้าหมายบริษัทมหาชนที่เน้นความรู้ทรัพย์สินทางปัญญา