ข่าวสาร
สถาบันวิทยาการ สวทช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ใคร่ขอเรียนเชิญเข้าร่วมอบรมหลักสูตร "สร้างโอกาสธุรกิจจากเทคโนโลยีชีวภาพ" (Biotechnology)
ใน ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพ มีบทบาทและความสำคัญมากในยุคเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio-based economy)จะเห็นได้จากประเทศทั่วโลกได้ให้ความ สำคัญ กับการกำหนดนโยบายและแผนที่มุ่งสู่เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy)
เทคโนโลยี ชีวภาพ คือ เทคโนโลยีซึ่งนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่งที่มี ชีวิต เพื่อมนุษย์จะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นทางการผลิต การบริการ อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารเสริมและเวชสำอาง อุตสาหกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการการแพทย์ ตลอดจนอุตสาหกรรมผลิตเอนไซม์ เป็นต้น
ดัง นั้น เทคโนโลยีชีวภาพเพื่ออุตสาหกรรม จึงถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานชีวภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเอื้อในการเข้าถึงจุลินทรีย์และ ชีววัสดุต่างๆ และเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย
Key Highlights
1. สร้างโอกาสธุรกิจจากเทคโนโลยีชีวภาพ
2. ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
3. ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ
4. พบกับแหล่งเก็บจุลินทรีย์ที่ค้นพบในประเทศไทย
วัตถุ ประสงค์
1. เพื่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความหลาก หลาย ทางชีวภาพ
2. เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพ
3. เพื่อให้ทราบแหล่งกำเนิดจุลินทรีย์
4. เพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กลุ่มเป้าหมายได้รู้จัก เทคโนโลยีจุลินทรีย์มากยิ่งขึ้น
5. เพื่อสร้าง Business Biotechnology
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้อบรมสามารถนำเทคโนโลยีชีวภาพทำให้เกิดธุรกิจใน อุตสาหกรรมต่างๆ ได้
2. ผู้อบรมมีแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพ
3. ผู้อบรมสามารถสร้างโอกาสธุรกิจจากเทคโนโลยีชีวภาพ
4. ผู้อบรมสามรถต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
5. ผู้อบรมรู้จัก สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจทางเทคโนโลยีชีวภาพ
โครงสร้างหลักสูตร
1. ภาคบรรยาย
2. การเสวนาพิเศษ เรื่อง“โอกาสอุตสาหกรรมไทย ต่อ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)”
3. เยี่ยม ชม ห้อง ปฏิบัติการ งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
หัวข้อฝึกอบรม ประกอบด้วย
1. ภาพรวม การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพ
2. ความสำเร็จในการทำธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ
3. ตัวอย่าง รูปแบบการลงทุนธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ
4. แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีจุลินทรีย์ ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก
5. การเสวนาพิเศษ เรื่อง “โอกาส อุตสาหกรรมไทยต่อการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพ”
6. องค์กรการจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพสู่ความ ยั่งยืน
7. เทคโนโลยีจุลินทรีย์และบริการพื้นฐานสนับสนุนงานวิจัย
8. การบริการของศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (Thailand Bioresource Research Center: TBRC)
9. ภาพรวมและบริการต่างๆของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยที่ สนองตอบความต้องการของ ธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ
เยี่ยมชมและศึกษาดู งาน ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
· ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (Thailand Bioresource Research Center : TBRC)
· ศูนย์นวัตกรรมอาหาและ อาหารสัตว์ (Food and Feed Innovation)
· บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัทชั้นนำ ที่ให้บริการแบบครบวงจรด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ)
· ห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยี เอนไซม์
· โรงงานต้นแบบผลิตไวรัส เอ็นพีวี เพื่อควบคุมหนอนกระทู้ผัก กระทู้หอม
· ผลงานวิจัยด้าน อุตสาหกรรม เกษตร ควบคุมแมลงศัตรูพืชและแมลงพาหะนำโรค
จากห้องปฏิบัติการวิจัย การควบคุมทางชีวภาพ เช่นงานวิจัย ราบิวเวอเรีย ที่สามารถควบคุมเพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยแป้งในแปลงข้าว
ค่าลงทะเบียน
ค่าลงทะเทียนเข้าร่วมอบรม 15,000 บาท/ท่าน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
พิเศษ ลง ทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปรับส่วนลด 10 % เหลือเพียงท่านละ 13,500 บาท
ระยะเวลาการอบรม
วันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8.30 - 17.15 น.
สถานที่อบรม
· ห้องคริสตัล 2 - 3 ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ถนนราชปรารภ
· ห้องประชุม 127/1 อาคารไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จ.ปทุมธานี
วิทยากร
1. ดร. นตพร จันทร์วราสุทธิ์
นักวิจัยนโยบายอาวุโส
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพ (ไบโอเทค)
2. คุณสุวนีย์ ชุณหเมธา
ห้องปฏิบัติการเก็บรวบรวมสายพันธุ์ จุลินทรีย์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพ (ไบโอเทค)
3. รศ. ดร. พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์
กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท สเปเชียลตี้ ไบโอเทค จำกัด และอดีตนายกสมาพันธ์เครื่องสำอางโลก
4. ดร. วสุ สุวรรณวิหค
อาจารย์ ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
5. ผศ.ดร.สุทธิพันธุ์ แก้วสมพงษ์
อาจารย์ ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6. น.สพ.รุจเวทย์ ทหารแกล้ว
ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเครือเบทาโกร
บริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร จำกัด
7. น.สพ. สมชาย เลาห์วีระพานิช
กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ดูปองท์ (ประเทศไทย) จำกัด
8. คุณอุษารัตน์ บุนนาค
ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายการตลาดและกิจกรรมส่งเสริมคลัสเตอร์
อุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย
ผู้ร่วมเสวนา
• คุณกฤษณ โชคพิพัฒนผล กรรมการ บริษัท เอเชีย สตาร์ แอนนิมัล เฮลธ์ จำกัด
บริษัทผู้นำธุรกิจปศุ สัตว์ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตเอนไซม์เพนโตซาเนส ที่คุณภาพสูงเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
จากงานวิจัย: ผลิตภัณฑ์เอนไซม์จากเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออาหารสัตว์
• ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ ประธานบริหาร บริษัท คีนน์ จำกัด
บริษัทผู้นำ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และคิดค้นเทคโนโลยี ชีวภาพ
จากงานวิจัย: จุลินทรีย์ย่อยสลายคราบน้ำมัน
• คุณ วิสุทธิ์ รัชตสวรรค์ กรรมการบริหาร บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1958) จำกัด
บริษัทชั้นนำด้านนวัต กรรมในธุรกิจอาหารสำเร็จรูป ได้ดำเนินงานวิจัยเพื่อคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพที่จะใช้เป็นต้นเชื้อ บริสุทธิ์สำหรับกระบวนการ
หมักผักกาดดองเปรี้ยวในระดับอุตสาหกรรม
จากงานวิจัย: การคัดเลือกต้นเชื้อจุลินทรีย์แลคติกเพื่อใช้ในการหมักผักกาดดอง เปรี้ยว
• ดร. วีระวัฒน์ แช่มปรีดา
หัวหน้านักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
ผู้ดำเนินรายการ และแชร์ความสำเร็จงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสู่แนวทางธุรกิจตลาด ไทย
หากสนใจส่ง บุคลากร เข้า ร่วม อบรม ครั้ง นี้ สามารถดำเนินการได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
1. สมัครได้ด้วยตนเองผ่านระบบ Online: http://www.nstdaacademy.com/ biot
2. Fax ใบสมัครมาได้ที่ 0 2644 8110
3. e-mail ใบสมัครมาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่ 0 2644 8150 ต่อ 81889 อริสรา ต่อ 81896 นพดร
ด้วยความเคารพอย่างสูง
อริสรา ศรีอุบล
ผู้ประสานงานหลักสูตร