อาหารบำรุงสายตาใครคิดว่าไม่สำคัญ

เป็นต้น แต่แคโรทีนอยด์ที่ได้จาก ลูทีน และ ซีแซนทีน แตกต่างจากแคโรทีนอยด์ ชนิดอื่นตรงที่จะไมเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอ ลูทีน และซีแซนทีน มีในเนื้อเยื่อของร่างกายมนุษย์หลายจุดด้วยกัน ส่วนของร่างกายที่มีสาร ลูทีน และ ซีแซนทีน ได้แก่ในลูกตา คือ ที่เลนส์ตา และจอรับภาพของตาคือเรติน่าตรงตำแหน่ง จุดรับภาพของลูกตา (Macula) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในจอตาเรติน่า เพราะเป็นจุดที่รูปภาพและแสงสว่างมากจะมาตกบริเวณนี้ เป็นส่วนที่จอตารับภาพได้ชัดที่สุดนั่นเอง ในธรรมชาติแล้วแม้จะมีแคโรทีนอยด์มากกว่า 600 ชนิด แต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้นที่พบในมนุษย์ และมีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่พบในจุดรับภาพของลูกตา คือ ลูทีน และ ซีแซนทีน มีหน้าที่ช่วยดูดซับแสงสีน้ำเงินก่อนจะมีผลเสียต่อดวงตา การศึกษาเชิงระบาดวิทยาพบหลักฐานว่า ลูทีน และซีแซนทีน ช่วยลดโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration: ADM) ลดความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก นอกจาก ลูทีน และซีแซนทีนจะมีคุณสมบัติในการช่วยชะลอความเสื่อมของเรติน่าและเลนส์ตาแล้ว ยังทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากและป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย

โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาให้การรับรองผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลูทีน และ ซีแซนทีน ในการลดความเสี่ยงของการเกิดความเสื่อมของตาอันมีสาเหตุจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นรวมถึงคนที่ทำงานโดยใช้สายตามากๆ เช่น คนที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ในแต่ละวัน หรือต้องทำงานอยู่กลางแจ้ง ที่มี แสงแดดจ้า จากงานวิจัย ยังพบว่าการรับประทาน ลูทีน ต้องรับประทาน6-10 มิลลิกรัมต่อวันจึงจะมีประสิทธิภาพในการดูแลดวงตาและมีความปลอดภัยหากรับประทานไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้กำหนดปริมาณการรับประทานของ ลูทีน และ ซีแซนทีน ไม่ควรเกิน 20 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากรับประทานมากจะสะสมที่ตับและทำให้ตัวเหลืองที่เรียกว่า Carotenemia หากหยุดรับประทานสักระยะภาวะนี้ก็จะหายไป นอกจากการเลือกกินอาหารบำรุงสายตาที่มีสารลูทีนและซีแซนทีนเพื่อ ดูแลสุขภาพตาและถนอมสายตาแล้วยัง มีสิ่งที่ต้องทำควบคู่กัน ไปเพื่อ ให้เกิด ผลดีต่อสุขภาพของสายตานั่น คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตาในการทำงานเช่น ใช้แผ่นกรองแสงกับจอคอมพิวเตอร์และปรับลดระดับแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์ให้พอเหมาะ อย่าให้สว่างจ้ามากเกินไป เมื่อทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆเป็นเวลานานให้รู้จักหยุดพักสายตาบ้างสัก 3-5 นาทีแล้วค่อยกลับไปทำงานต่อ เมื่อต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานควรสวมแว่นกันแดดเพื่อลดปริมาณแสงที่จะเข้ามายังตาของเรา

คุณอยู่ที่: หน้าแรก อาหารบำรุงสายตาใครคิดว่าไม่สำคัญ