เห็ดหลินจือ ราชาของสมุนไพร (King of Herbs)

 
ตำรายาสมุนไพรจีน แบ่งเห็ดหลืนจือ เป็น 6 ชนิด โดยดูจากสี และกล่าวว่า แต่ละสีจะมีหน้าที่ต่ออวัยวะต่างกัน ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานให้เหมาะสม
  1. แดง »  หัวใจ
  2. ม่วง »   ข้อ
  3. เขียว  »  ตับ
  4. ขาว »  ปอดและผิวหนัง
  5. เหลือง »  ม้าม
  6. ดำ    »  ไตและสมอง   ซึ่งจะยกตัวอย่าง เห็ดหลินจือที่สามารถรักษาโรคต่างๆได้ ดังนี้
เห็ดหลินจือกับโรคมะเร็ง
 
เห็ดหลินจือจัดว่าเป็นสมุนไพรที่ได้รับความสนใจในอันดับต้นๆ  จากนักวิจัยทั่วโลก   และเรื่องที่มีการวิจัยมากที่สุดก็คือเรื่องของโรคมะเร็ง   มีรายงานการวิจัยมากกว่า 100 โครงการที่ได้รับการยอมรับเป็นสากล   เปิดเผยผลการค้นพบสารออกฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งในเห็ดหลินจือหลายชนิด คือ เบต้าดีกลูแคน  ( Beta-D-Glucan ) และสารกลุ่มจำพวก     โพลิแซ็กคาไรด์ ( Polysaccharides ) หลายชนิด  โดยสารทั้ง 2 ชนิดนี้จะทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด บี-เซลล์ ( B- cells ) และที-เซลล์ ( T-cell)  ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของ สาร อิมมูโนโกลบูลิน( lmmunoglobulin ) และสารอินเตอร์ลิวคิน( Interleukins ) ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน  โดยจะทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมเช่น เซลล์มะเร็ง  หรือสารก่อมะเร็ง และเซลล์ผิดปกติ  รวมถึงต่อต้านเชื้อโรคและไวรัส 
 
» เห็ดหลินจือกับโรคเบาหวาน
 
เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพร ที่นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสารสำคัญทางยาที่ลดน้ำตาลในเลือดได้คือสารที่อยู่ในกลุ่มของ โพลีแซ็กคาไรด์   ได้แก่  กาโนเดอแรน เอ บี และ ซี (Ganoderans A,B,C,) ช่วยลดน้ำตาลในกระแสเลือด( Hypoglycemic effect ) ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของสารอินซูลินซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย ดังนั้นเห็ดหลินจือจึงสามารถใช้รักษาโรคเบาหวานได้
 
»   เห็ดหลินจือกับโรคหัวใจ
 
จากรายงานการวิจัยทางคลินิกที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เมืองเซียงไฮ้  พบว่า   เห็ดหลินจือฤทธิ์ลดความหนืดของเลือด  ลดความเข้มข้นของเลือด  ทำให้เลือดไหลเวียนดี  ได้สะดวก  เพิ่มค่าความเร็วในการตกตะกอนของเลือด  ลดระดับไขมันในเลือดทั้ง คลอเรสเตอรอล  และไตรกลีเซอไรด์  ยับยั้งการรวมตัวของเกร็ดเลือด ช่วยให้เม็ดเลือดแดงเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อให้ไหลผ่านไปตามเลือดไป ตามอวัยวะต่าง ๆได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผู้ป่วย ด้วยโรคหัวใจพบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือสามารถลดอาการต่างๆได้หลายอย่างเช่น ลดอาการแน่นหน้าอก  อาการเจ็บหน้าอก  อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น   อาการนอนไม่หลับ  อาการหายใจขัด    และลดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 
 
»  เห็ดหลินจือกับโรคตับ
 
ผลทางชีวภาพและเภสัชวิทยาของ เห็ดหลินจือ  ในเรื่องของโรคตับ   และพบว่าภายในเห็ดหลินจือมีสารสำคัญทางยาที่ใช้รักษาโรคตับ  สามารถจำแนกสารได้หลายชนิดคือ
  1. กลุ่มสารโพลิแซ็กคาไรด์  (Polysaccharides) เป็นกลุ่มสารหลายชนิดที่มีสรรพคุณทางยาปกป้องตับจากสาร พิษ (Hepatoprotective activity)โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งสารพิษ เช่น  คาร์บอนเตตราคลอไรด์  ไม่ให้ทำลายเซลล์ตับ นอกจากนี้กลุ่มสารโพลิแซ็กคาไรด์  ยังยับยั้งการเกิดโรคตับแข็ง (Hepatic crrhosis)  มีผลดีต่อค่าชีวะทางเคมีที่เป็นตัวชี้การทำงานของตับ  คือ ลดระดับสารไฮดร็อกซีโพรลีน(Hydroxyproline)ในตับและลดระดับเอนไซม์   SGOT SGPT  รวมถึง alkali phosphatase ( ALP )
  2. กลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์รสขม (Bitter Triterpenoids) เป็นกลุ่มสารที่มีฤทธิ์ในการปกป้องและรักษาโรคตับ ประกอบด้วย กรด กาโนเดอริค( Ganoderic acid ) และกรดลูซิเดนิค(Lucidenic acid)  พบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านสารพิษที่มีต่อตับและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ มะเร็งในตับ นอกจากนี้พบว่ายังมีสารกาโนโดสเตอโรน(Ganodosterone) เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการลดพิษที่มีต่อตับด้วย
 
บทความโดย
นักศึกษาฝึกงาน นางสาวอาภาภรณ์   ปานมี  (นศ.ฝึกงาน)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชา เคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
อ้างอิง :
หนังสือ “ เห็ดหลินจือกับการรักษาโรค”  โดย คุณสมศักดิ์  ชินกร
หนังสือ “ King of  Herbs”  โดย  ศ.ดร.นพ. สมศักดิ์  วรคามิน
http://www.lingzhibook.com/02book1.htm (24/4/55)
 
 
 
 
คุณอยู่ที่: หน้าแรก เห็ดหลินจือ ราชาของสมุนไพร (King of Herbs)