อธิบายรูปแบบของธุรกิจซีดีไอพี ด้วยทฤษฎี technology push vs market pull
- รายละเอียด
- หมวด: Knowledgebase
- เผยแพร่เมื่อ: 02 มีนาคม 2559
- ฮิต: 7411
อธิบายรูปแบบของธุรกิจซีดีไอพี ด้วยทฤษฎี technology push vs market pull
ทฤษฎี Technology push โดยปกติแล้วเมื่อนักวิจัยทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก็จะนำผลงานเหล่านี้มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และหาวิธี พยายามผลักดันจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้สู่ตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
ข้อดีของทฤษฎีนี้คืองานวิจัยพัฒนา จะค่อนข้างมีความใหม่ ไม่เหมือนใคร
ข้อเสียคืออะไรหลายครั้งนักวิจัย จะหาโจทย์มาทำการวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ด้วยการต้องการความใหม่ของงานวิจัยเป็นหลัก มีใครมองว่าทำงานวิจัยเหล่านี้ได้ตอบสนองความต้องการของตลาดจริงหรือไม่ โดยเฉพาะงานวิจัยที่มุ่ง เน้น การได้มาซึ่งผลงานทางวิชาการซึ่งแสดงถึงความใหม่ทางวิชาการจริง จุดอ่อนดังที่ว่างานวิจัยเหล่านี้ไม่ได้เน้นที่การตอบสนองความต้องการของตลาดเป็นปัจจัยสูงสุด
บริษัทซีดีไอพี ใช้ประโยชน์จากทฤษฎีนี้คือการค้นหางานวิจัยและพัฒนา ที่เป็นโจทก์จากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐ ที่เป็นงานที่มีความใหม่และมีสิทธิบัตร มีการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว เราจะนำงานเหล่านี้ มาต่อยอด ในเชิงอุตสาหกรรมนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตัวอย่างและนำเสนอ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทำให้บริษัทซีดีไอพีเองสามารถสรรหางานวิจัยใหม่ๆ เสนอต่อตลาด ผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและยาแผนโบราณได้
ทฤษฎี market pull (demand pull) ทฤษฎีนี้จะเน้นการหาความต้องการของตลาดก่อน ว่าทางด้านการตลาดหรือผู้บริโภคต้องการสินค้าและบริการประเภทไหน หรือกระทั่งภาคอุตสาหกรรมต้องการพัฒนากระบวนการ อะไรบ้าง เมื่อเราได้ความต้องการของตลาดแล้ว เราจึงนำความต้องการนี้ไปบอกที่นักวิจัย หรือร่วมวิจัยกับมหาวิทยาลัยต่างๆเพื่อให้ได้งานวิจัยและพัฒนาหรือนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้
ข้อดีของทฤษฎีนี้คือ เนื่องจากเราได้โจทย์จากความต้องการของตลาดจริง ทำให้งานวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือบริการมักจะเป็นที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้หรือนำไปขายได้ง่าย
ข้อเสียของทฤษฎีนี้คือ บางครั้งความต้องการของตลาดหรือของผู้บริโภค ถ้าทำการ survey ไม่ดีพออาจจะได้ความต้องการที่ไม่ใช่ความต้องการจริง ถ้าได้ความต้องการของตลาดจริงงานวิจัยเหล่านี้มักจะเป็นงานวิจัยที่ไม่ใหม่ หรือระดับความเป็นนวัตกรรมน้อย ทำให้ไม่สามารถปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาได้มากนัก
การนำทฤษฎีนี้ไปใช้ของบริษัทซีดีไอพีคือ เราจะหาความต้องการของตลาดความต้องการของลูกค้า ความต้องการของผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์ ความต้องการเหล่านี้ ซีดีไอพีมักจะ นำไปพัฒนา ต่อยอด ร่วมกับ หน่วยงานวิจัยต่างๆมหาวิทยาลัยต่างๆ และโรงงานผลิตที่อยู่ในกลุ่มของบริษัทซีดีไอพีโดยใช้ทั้งความเชี่ยวชาญของพภาคเอกชนและความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย ร่วมกันพัฒนาในลักษณะ open innovation หรือนวัตกรรมแบบเปิด ทำให้บริษัทของเรา ได้สินค้า กระบวนการและบริการที่ใหม่ ได้อย่างรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการพัฒนา ที่ไม่สูงนัก