ข่าวสาร

CDIP Formulator Space

          ดร. สิทธิชัยแดงประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรม และคุณจุรีวรรณ  รองศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรม บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย)จำกัดได้อธิบายถึงการวิจัยพัฒนาเพื่อต่อยอดสินค้าเกษตร คือ ผลิตภัณฑ์จากข้าว โดยการสกัดน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวที่ได้จากกระบวนการผลิตในโรงสีข้าว สู่การทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในรูปแบบแคปซูลนิ่ม (Soft gelatin Capsule) ซึ่งสามารถใช้น้ำมันรำข้าวจากข้าวต่างชนิดกันเช่นข้าวหอมมะลิ, ข้าวหอมปทุม, ข้าวสังข์หยด, ข้าวเล็บนก  แล้วยังสามารถต่อยอดเพิ่มคุณค่าได้อีก โดยการนำน้ำมันรำข้าวไปผสมกับสารสกัดเย็นอื่นๆ เช่น โคเอนไซม์ คิวเท็น (Coenzyme Q10), เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene), สารสกัดจากสาหร่ายสีแดง (Astaxanthin) ซึ่งวิธีการนี้สามารถเพิ่มมูลค่าจากรำข้าวกิโลกรัมละหลักสิบเป็นน้ำมันรำข้าวกิโลกรัมละหลักหลายร้อย เมื่อนำมาอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแล้ว มูลค่าจะเพิ่มขึ้นกลายเป็นหลักหมื่น

อ่านเพิ่มเติม: CDIP Formulator Space

บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับรับรางวัล SMEs ดีเด่นครั้งที่ 8 ประจำปี 2559        

          คุณพิชชากานต์ พิทยกรพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนในการรับรางวัล SMEs ดีเด่นครั้งที่ 8 ประจำปี 2559ในงานพิธีมอบรางวัล SMEs National Awards 8th ที่สโมสรทหารบก วิภาวดี เมื่อวันที่ 23 กันยยายน 2559 จัดโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

อ่านเพิ่มเติม: บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับรับรางวัล SMEs ดีเด่นครั้งที่ 8 ประจำปี 2559

‘ไอแทป’ปลดล็อกเอสเอ็มอี

          หินประดับจากเศษกระจกของไทยเทคโนกลาส, ต้นแบบอุปกรณ์จัดการพลังงานอัจฉริยะของรัฐบราเธอร์ และนวัตกรรมจากมะพร้าวในโรงงานอำพลฟูดส์โพรเซสซิ่ง ตัวอย่างความสำเร็จจาก 7,000 โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก “ไอแทป” ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือ iTAP ในรูปแบบของการจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการวิจัยและพัฒนา เข้าไปให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาถึงในโรงงาน พร้อมทั้งสนับสนุนในส่วนของค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ 50% แต่ไม่เกิน 4 แสนบาท ซึ่งเป็นกลยุทธ์ขั้นต้นที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของผู้ประกอบการ

อ่านเพิ่มเติม: ‘ไอแทป’ปลดล็อกเอสเอ็มอี

จิตสำนึกวิทยาศาสตร์ สร้างการวิจัย และนวัตกรรม

          ความจำเริญทางเศรษฐกิจเกิดจากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าทั้งทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตสินค้าและบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่มและสนองความต้องการของตลาด ขีดความสามารถในการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตขึ้นอยู่กับระดับการพึ่งตนเองของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสำคัญ

อ่านเพิ่มเติม: จิตสำนึกวิทยาศาสตร์ สร้างการวิจัย และนวัตกรรม

คุณอยู่ที่: หน้าแรก